วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555

ข่าวกองทุนรวมประจำวันที่ 12 -03-2012

·        ไอเอ็นจี ปลื้ม กองเอเชียนฯ เพิ่มทุน 5พันล.
·        ทิสโก้ เปิดตัว2กองทุนน้องใหม่ลุยตราสารหนี้เกรดเอสนองคนไม่ชอบเสี่ยง
·        นลท.ไทย-เทศแห่ลุย IPO กองทุนอสังหาฯ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพียบ
·        ดึงญี่ปุ่นลงทุน Private Equity MFCตั้งเป้า 15% ต่อปีทุกโปรเจกต์
·        ไทยพาณิชย์รับแต่งตั้งบริหารเงินกอง PVD พนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย



ไอเอ็นจีปลื้ม
Source - ข่าวหุ้น (Th)

          กองเอเชียนฯ เพิ่มทุน5พันล.
          บลจ.ไอเอ็นจี กองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย เอเชี่ยน เดบท์ รีจินอล บอนด์ ปันผล หลังปิดจองซื้อช่วง IPO ตั้งแต่ต้นเดือน ก.พ. และเปิดให้ซื้อขายรอบใหม่ ส่งผลให้กองทุนต้องเพิ่มทุนจาก 3 พันล้านบาท เป็น 5 พันล้านบาท
          นายจุมพล สายมาลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากได้ออกและเสนอขายกองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย เอเชี่ยน เดบท์ รีจินอล บอนด์ ปันผลซึ่งมีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน ING (L) Renta Fund Asian Debt (Local Bond)
          กองทุนมีนโยบายกระจายการลงทุนในตราสารหนี้ ตราสารตลาดเงิน และเงินฝาก ในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ อินเดีย ฮ่องกง และจีน ให้กับประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ และได้เปิดให้ผู้สนใจได้ลงทุนตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานั้น
          ปรากฏว่า กองทุนดังกล่าวได้รับความสนใจจากนักลงทุน ส่งผลให้มูลค่ากองทุนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งล่าสุดกองทุนได้ดำเนินการเพิ่มทุนจาก 3 พันล้านบาทเป็น 5 พันล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค.ที่ผ่านมา
          ปัจจัยสนับสนุนให้กองทุนดังกล่าวได้รับความสนใจ จากนักลงทุน มาจากพื้นฐานเศรษฐกิจเอเชียที่แข็งแกร่ง โดยเชื่อว่า มาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจ จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดมีทิศทางลดลง เป็นผลให้ตราสารที่ลงทุน ซึ่งโดยรวมแล้วเป็นตราสารที่มีอายุปานกลางและระยะยาวมีโอกาสได้รับกำไร จากราคาตราสารที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น
          ล่าสุดธนาคารกลางฟิลิปปินส์ได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 25% จากเดิม 6.25% มาอยู่ที่ 6.00% นอกจากนี้ การปรับอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้เอเชียยังคงมีทิศทางที่ดีขึ้น เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยตราสารหนี้ภูมิภาคเอเชียที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ย ของประเทศกลุ่มพัฒนาแล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ภูมิภาคเอเชียมีปริมาณการลงทุนและการบริโภคภายใน ประเทศที่สูง เช่นเดียวกับการระดมทุนเพื่อขยายกิจการ ดังนั้น ผู้ออกตราสารในประเทศจึงออกตราสารที่ให้ผลตอบแทน นั่นคือ ดอกเบี้ยรับที่สูงเพื่อดึงดูดนักลงทุน
          นายจุมพล กล่าวว่า ขณะที่เศรษฐกิจเอเชียยังคงเดินหน้าอย่างแข็งแกร่ง แต่เศรษฐกิจยุโรปยังคงน่าเป็นห่วง หลังจากที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือฟิทช์ เรทติ้งส์ ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซจาก "CCC" สู่ระดับ "C" (Junk Bond)
          และก่อนหน้านี้ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือกรีซสู่ระดับต่ำสุดที่ “C” จากเดิมที่ “Ca” ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในระบบการจัดอันดับของมูดี้ส์ จากแผนสว็อปพันธบัตร ที่อาจส่งผลให้นักลงทุนขาดทุนมากถึง 70%



บลจ.ทิสโก้เปิดตัว2กองทุนน้องใหม่ลุยตราสารหนี้เกรดเอสนองคนไม่ชอบเสี่ยง

Source - แนวหน้า (Th)

          นายธีรนาถ รุจิเมธาภาส กรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ทิสโก้จำกัด เปิดเผยว่าบริษัทเปิดเสนอขายกองทุนใหม่2 กองทุน ได้แก่ "กองทุนเปิด ทิสโก้ตราสารหนี้โรลโอเวอร์ 3M3" และ "กองทุนเปิดทิสโก้ ตราสารหนี้โรลอัพ 14" เพื่อตอบสนองความต้องการด้านการลงทุนระยะสั้นเหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ไม่ต้องการลงทุนความเสี่ยงสูงเปิดเสนอขายครั้งแรก 12-19 มีนาคม 2555
          "กองทุนเปิด ทิสโก้ ตราสารหนี้โรลโอเวอร์ 3M3" (TISCO Roll Over Fixed Income Fund 3M3) เป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่า เกณฑ์มาตรฐานโดยมีนโยบายลงทุนในตราสารแห่งหนี้และ/หรือเงินฝากที่เสนอขายใน ประเทศและ/หรือต่างประเทศ โดยกองทุนอาจพิจารณาลงทุนในต่างประเทศได้ไม่เกิน79% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนกรณีที่มีการลงทุนในต่าง ประเทศจะป้องความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน โดยกองทุนดังกล่าวเหมาะกับผู้ที่ต้องการลงทุนในระยะสั้นเนื่องจากจะเสนอขาย ทุกๆ 3 เดือน
          "กองทุนเปิดทิสโก้ ตราสารหนี้โรลอัพ14"(TISCORollUpBondFund #14)ซึ่ง เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารแห่งหนี้และหรือเงินฝากที่เสนอขายในประเทศ และ/หรือต่างประเทศโดยกองทุนอาจพิจารณาลงทุนในต่างประเทศได้ไม่เกิน 79% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนในกรณีที่มีการลงทุน ในต่างประเทศกองทุนจะป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวนโดยจะ เสนอขายทุกๆ 6 เดือน



นลท.ไทย-เทศแห่ลุย IPO กองทุนอสังหาฯ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพียบ
Source - Investor Station (Th)

          "ซีไอเอ็มบี" ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กองทุนอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่า แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ระบุนักลงทุนไทยและต่างชาติสนใจ IPO เพียบ เหตุรับประกันผลตอบแทนขั้นต่ำถึงปี 58 และลงทุน ใน 3 โครงการทำเลดี ภายใต้บริหารของโครงการแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เปิดเสนอขาย 8 - 16 มี.ค.นี้ เปิดจองซื้อหน่วยลงทุนขั้นต่ำ 1 หมื่นบาท
          นางจันทนา กาญจนาคม กรรมการผู้จัดการ บลจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เปิดเผยว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่า แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ กำหนดเปิดเสนอขายหน่วยลงทุนให้ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 8 - 16 มี.ค. 55 เพื่อระดมทุนไปลงทุนในโครงการย่านใจกลางกรุงเทพฯ 3 โครงการรวมมูลค่ากว่า 3.3 พันล้านบาท รองรับความต้องการลูกค้าต่างชาติที่มีกำลังซื้อสูง ซึ่งกองทุนดังกล่าวยังรับประกันผลตอบแทน ขั้นต่ำให้กับผู้ลงทุนจนถึงปี 58 เปิดจองซื้อหน่วยลงทุนขั้นต่ำ 1 หมื่นบาท มูลค่าหน่วยละ10 บาท
          ทั้งนี้ มีนโยบายลงทุนด้วยการลงทุนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ (Freehold) สัดส่วน 80% ในโครงการเซอร์วิส อพาร์ทเมนต์ เซนเตอร์ พอยต์ สุขุมวิท-ทองหล่อ และโครงการอาคาร พักอาศัยให้เช่า เซนเตอร์ พอยต์ เรซิเดนซ์ พร้อมพงษ์ รวมถึงลงทุนในสิทธิการเช่า (Leasehold) สัดส่วน 20% ในโครงการบ้านพักอาศัยให้เช่า แอล แอนด์ เอช วิลล่า สาทร ซึ่งมีอายุ 27 ปี นับตั้งแต่มีนาคม 2555
          ด้านนายสิทธิไชย มหาคุณ หัวหน้าสายงานวาณิชธนกิจ บล.ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน และแกนนำการจัดจำหน่ายกองทุน ระบุว่า นักลงทุนทั้งสถาบันและรายย่อยให้ความสนใจกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิ การเช่า แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นทางเลือกที่เหมาะกับการลงทุนในช่วงนี้ ขณะที่ นักลงทุนยังเชื่อมั่นในการบริหารจัดการโครงการของแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ รวมถึงการรับประกันอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำของกองทุน



ดึงญี่ปุ่นลงทุนPrivate Equity MFCตั้งเป้า15%ต่อปีทุกโปรเจกต์

Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th)

          บลจ.เอ็มเอฟซีเผย สินทรัพย์กอง Private Equity อยู่ที่ประมาณ 6,000 ล้านบาท เน้นลงทุนธุรกิจพลังงาน ล่าสุดดึงพันธมิตรธุรกิจจากญี่ปุ่นร่วมลงทุนอุตสากรรมหนักในไทยวางเป้าผลตอบแทนโปรเจกต์เฉลี่ย 15% ต่อปี ระยะเวลาลงทุนประมาณ 3-5 ปี
          นายวิชชุ จันทาทับ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่าย Private Equity บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัดเปิดเผยว่า ปัจจุบันบริษัทมีสินทรัพย์ที่บริหารในส่วนของกองทุนนิติบุคคลเอกชน (Private Equity) ประมาณ 6,000 ล้านบาท โดยมุ่งนำเงินไปลงทุนในทุกธุรกิจทั้งพลังงานและไม่เกี่ยวข้องกับพลังงาน ยกเว้นธุรกิจในภาคบริการและอสังหาริมทรัพย์ ล่าสุดกำลังเจรจาดึงเม็ดเงินลงทุนของกลุ่มนักลงทุนญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนใน บริษัทไทยที่ทำธุรกิจเป็นอุตสาหกรรมหนักซึ่งคาดว่าน่าจะเจรจาแล้วเสร็จได้ใน เร็วๆ นี้ มูลค่าเงินลงทุนประมาณ 1,100 ล้านบาท ซึ่งจะเข้ามาร่วมลงทุนในลักษณะของพันธมิตรทางธุรกิจให้แก่บริษัทแห่งนี้ที่ เป็นบริษัทที่มีศักยภาพแต่มีปัญหาที่ต้องจัดการเท่านั้นเอง ซึ่งบริษัทกำลังสนใจที่จะขยายการลงทุนในส่วนของ Private Equity นี้เข้าไปยังการลงทุนในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยที่อาจจะมีปัญหาด้านการเงินหรือด้านการบริหารจัดการด้วยเช่น กัน ถือว่าเป็นโอกาสทางธุรกิจที่สามารถจะขยับเข้าไปลงทุนได้
          โดยในส่วนของกองทุนพลังงานเองปัจจุบันยังสามารถที่จะใส่เงินลงทุนเพิ่มได้อีกประมาณ 900-1,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทสนใจที่จะลงทุนเพิ่มในบริษัทผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กที่ผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ไม่เกิน 10 เมกะ-วัตต์ต่อโครงการ เพราะบริษัทผู้ผลิตขนาดใหญ่จะไม่ค่อยสนใจเงินลงทุนจาก Private Equity เท่าไรนัก และมองว่าแนวโน้มของไฟฟ้าจากพลังแสงอาทิตย์กำลังเติบโตในไทยจึงเป็นธุรกิจที่มีอนาคตและน่าสนใจที่จะเข้าลงทุน
          นายวิชชุยังกล่าวอีกว่า ธุรกิจของ Private Equity ค่อนข้างจะเป็นธุรกิจเฉพาะฐานลูกค้าทั้งสถาบันและบุคคลที่มีเงินที่ค่อนข้าง จะเป็นความลับ ดังนั้น ในการหาลูกค้าหรือหาโปรเจ็คที่จะลงทุนบริษัทจะต้องทำการบ้านค่อนข้างมากใน การไปหาลูกค้าและโปรเจกต์ให้แมตช์กันให้ได้
          ดังนั้น ลูกค้ากองทุน Private Equity จะต้องมีความเข้าใจที่มากเพียงพอ โดยผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ยประมาณ 15% ต่อปี ระยะเวลาลงทุนประมาณ 3-5 ปี แม้ว่าโอกาสในความสำเร็จของการเข้าไปลงทุนอาจจะไม่มาก ใน 10 โครงการอาจจะมีสำเร็จแค่ 2-3 โครงการ อีก 5 โครงการทรงๆ ที่เหลือไม่สำเร็จ แต่โครงการที่ลงทุนแล้วสำเร็จจะสร้างผลตอบแทนที่สามารถครอบคลุมทุกโครงการที่ไม่สำเร็จได้ผลตอบแทน
          ที่คาดหวังจึงค่อนข้างสูง โดยส่วนใหญ่ที่เข้าไปลงทุนในบริษัทจะเข้าไปลงทุนประมาณ 30-35%ของทุนจดทะเบียนในบริษัททั่วไป ถ้าเป็นบริษัทที่เกี่ยวกับพลังงานก็ประมาณ 25% ของทุนจดทะเบียน
          ทั้งนี้ การเข้าไปลงทุนในบริษัทเป้าหมายจะมีทั้งบริษัทที่มีศักยภาพแต่ขาดเงินลงทุน ในลักษณะนี้อาจจะเพียงใส่เงินเข้าไปเพียงอย่างเดียวก็ได้ แต่ถ้าเป็นบริษัทที่มีปัญหาแต่มีศักยภาพในการทำธุรกิจอยู่ก็ต้องมาดูว่า ปัญหานั้นคืออะไร เพราะส่วนใหญ่การเข้าไปลงทุน Private Equity จะเข้าไปช่วยดูแลบริหารจัดการเพื่อ ฟื้นฟูบริษัทให้สามารถกลับมาเติบโตได้อีกครั้งด้วยเช่นกัน ในลักษณะนี้ก็อาจจะเข้าไปในเชิงของพันธมิตรทางธุรกิจที่จะมีส่วนร่วมในการ บริหารด้วยเช่นกัน
          "ส่วนรูปแบบของกองทุน Private Equity นี้ไม่เหมาะกับการที่จะนำมาทำเป็นรูปแบบของกองทุนรวมเพื่อให้นักลงทุนราย ย่อยลงทุนแต่ประการใด แม้ในต่างประเทศอาจจะมีการตั้งกองทุนรวมเพื่อเข้าไปลงทุนใน Private Equity บ้างก็ตาม แต่ถ้ามองความพร้อมและพัฒนาการ ในเรื่องนี้ของไทยเองคิดว่าไทยยังไม่พร้อมและ Private Equity นี้ยังเหมาะที่จะเป็นการลงทุนเฉพาะกลุ่มในส่วนของนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนบุคคลที่มีความรู้และเงินทุนมากกว่า" นายวิชชุกล่าว

ภาพข่าว: บริหารเงิน

Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th)

          โชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ ลงนามสัญญาแต่งตั้งบริษัทจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ซึ่งจดทะเบียนแล้ว กับ อัยยณัฐ ถินอภัยผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในโอกาสที่ บลจ.ไทยพาณิชย์ ได้รับความไว้วางใจให้บริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมูลค่า 2,000 ล้านบาท โดยมีผู้บริหารระดับสูงของทั้งสองหน่วยงานร่วมเป็นสักขีพยาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น